วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงสร้าง Assembler

.MODEL SMALL
.STACK 64
.DATA
CODE
MAIN PROC
MOV AX,@DATA
MOV DS, AX
MOV AH,2
MOV DL,'PATCHARIN WONGCHAN'
INT 21H
MOV AH,4CH
INT 21H
MAIN CNDP
END MAIN




วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรม


1. โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล

โปรแกรมภาษาปาสคาลประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ  3  ส่วนคือ
1.  ส่วนหัวโปรแกรม  (program  heading)
2.  ส่วนประกาศ  (program  declarations)
3.  ส่วนคำสั่งการทำงาน  (program  statements)
ส่วนหัว  (Heading)
          ประกอบด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว  ดังรูปแบบ
             Program  ชื่อโปรแกรม;
          ชื่อโปรแกรม  เป็นไปตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อของปาสคาล  และจะต้องไม่ซ้ำกับชื่ออื่น ๆ ภายในโปรแกรม
          การกำหนดชื่อต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้
          1.  ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร  แล้วตามด้วยตัวอักษร  หรือตัวเลข  หรือเครื่องหมายขีดล่าง  เท่านั้น  ตัวอักษรนี้จะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กก็จะมีความหมายเช่นเดียวกัน
          2.  มีความยาวไม่เกิน  127  ตัวอักขระ  แต่ตัวแปรภาษาสามารบอกความแตกต่างของชื่อแต่ละตัวได้เฉพาะอักขระ  8  ตัวแรกเท่านั้น สำหรับภาษาปาสคาลจะบอกความแตกต่างได้ถึง  60  ตัวอักขระ
          3.  ชื่อไม่ตรงกับคำสงวน  (reserve  words)  ในภาษาปาสคาล  คำสงวน  หมายถึงคำที่มีกฎเกณฑ์การใช้และมีความหมายเฉพาะที่แน่นอน  เช่น  Begin…End,If.. Then….เป็นต้น
ตัวอย่าง  Program  Tax;{โปรแกรมคิดภาษี}
               {}  ข้อความที่อยู่ในสัญลักษณ์นี้  หมายถึง หมายเหตุหรือข้อความอธิบายไม่มีผลต่อโปรแกรม


ส่วนประกาศ  (Declaration  part)
          โปรแกรมภาษาปาสคาลแตกต่างจากบางภาษาที่ต้องมีการกำหนดชื่อและชนิดของตัวแปรที่จะใช้ในโปรแกรมเสียก่อน  ส่วนประกาศโปรแกรมได้แก่บริเวณตั้งแต่หลังส่วนหัวไปจนถึงข้อความก่อนคำว่า  Begin  ของโปรแกรมหลัก  ส่วนประกาศโปรแกรมจะประกอบด้วย
1.      ส่วนประกาศเลเบล  Labal
2.      ส่วนประกาศชื่อค่าคงที่  Const
3.     ส่วนกำหนดแบบข้อมูล  Type
4.     ส่วนประกาศตัวแปร  Var
5.     ส่วนโปรแกรมย่อย  Procedure/Function
          ส่วนใดไม่ได้ใช้ก็ไม่ต้องประกาศ
ส่วนคำสั่งการทำงาน (Statements)
          ส่วนคำสั่งของโปรแกรม  จะอยู่ต่อจากส่วนประกาศ  ขึ้นต้นด้วย  Begin  และจบด้วย  End.  ช่วงระหว่าง 2 คำนี้จะเป็นคำสั่ง     จะต้องแยกแต่ละคำสั่งออกจากกันด้วย;  โดยคำสั่งแต่ละคำสั่งจะมีผลให้มีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง  
           Begin

                   คำสั่งที่ 1;
                   คำสั่งที่ 2

                  

                  คำสั่งที่ n; 
           End.


 2.โครงสร้างของภาษา C


โครงสร้างของภาษา
ในโปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษา C ทุกโปรแกรมจะมีโครงสร้างการพัฒนาไม่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ๆ โดยที่แต่ละส่วนจะมีหน้าที่แตกต่างกัน 1. ส่วนของเฮดเดอร์ไฟล์ (Header File or Processing Directive) ส่วนนี้จะมีจุดสังเกตที่สำคัญคือจะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ การทำงานของคอมไพเลอร์จะทำงานในส่วนนี้เป็นส่วนแรก ในส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บไลบรารีมาตรฐานของภาษา C ซึ่งจะถูกดึงเข้ามารวมกับโปรแกรมในขณะแปลภาษาโปรแกรม (Compile) โดยใช้คำสั่ง # include ซึ่งสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ 
รูปแบบที่ 1 : #include<HeaderName> 
รูปแบบที่ 2 : #include “HeaderName” โดยที่ HeaderName เป็นชื่อของ header file ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันคือ แบบ <…..> คอมไพเลอร์จะค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์จากไลบรารีของภาษา C เพียงที่เดียวเท่านั้น ส่วนที่ใช้เครื่องหมาย “……” คอมไพเลอร์จะค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์จากไลบรารีที่เก็บ Source Code ของเราก่อน ถ้าหากไม่เจอจะไปค้นหาที่ไลบรารีของภาษา C เฮดเดอร์ไฟล์จะมีนามสกุลเป็น .h เท่านั้น เฮดเดอร์ไฟล์ที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ stdio.h 2. ส่วนของตัวแปร Global เป็นส่วนประกาศตัวแปรที่สามารถใช้ได้ทั้งโปรแกรม ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ 3. ส่วนของฟังก์ชัน (Function) เป็นส่วนการทำงานของโปรแกรม ในโครงสร้างภาษา C จะบังคับให้มีอย่างน้อย 1 ฟังก์ชันคือ ฟังก์ชัน main() ซึ่งเป็นฟังก์ชันเริ่มการทำงานของโปรแกรม (คอมไพเลอร์จะประมวลผลที่ฟังก์ชัน main() เป็นฟังก์ชันแรก) โดยในขอบเขตของฟังก์ชันจะเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย { และสิ้นสุดด้วยเครื่องหมาย } 4. ส่วนของตัวแปร Local เป็นส่วนประกาศตัวแปรที่สามารถใช้ได้เฉพาะภายในฟังก์ชันของตนเองเท่านั้น ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ 5. ส่วนของตัวโปรแกรม เป็นส่วนคำสั่งการทำงานของโปรแกรม โดยที่คำสั่งแต่ละคำสั่งจะต้องจบด้วยเครื่องหมาย ; เสมอ 6. ส่วนของตัวส่งค่ากลับ เป็นส่วนของการส่งค่าข้อมูลกลับเมื่อฟังก์ชันจบการทำงาน โดยค่าที่ส่งกลับจะต้องเป็นค่าที่มีชนิดของข้อมูลตรงกับชนิดของข้อมูลที่ฟังก์ชันคืนค่ากลับ (Return Type) ในกรณีไม่ต้องการให้มีการส่งค่ากลับ สามารถกำหนดได้โดยใช้คีย์เวิร์ด void ตัวอย่าง #include<stdio.h> #include<conio.h> Void main(void) { printf(“Welcome to C Programming”); getch();

3.โครงสร้างโปรแกรมภาษา Basic

ภาษาเบสิก ( Basic ย่อมาจาก Beginners All - purpose Symbolic Instruction Code)
เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้พัฒนาโดย Dartmouth Collage แนะนำโดย John Kemeny และ Thomas Krutz ในปี 1965 เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับ ผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรม และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากภาษา BASIC, QBASIC 
ปัจจุบันเป็น Visual BASIC เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร?หลาย สามารถประยุกต์ใช้งานได?ทั้งทางวิทยาศาสตร์และทางธุรกิจ 
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา BASIC CLS PRINT 
“PLEASE ENTER A NUMBER” INPUT NUMBER DO WHILE NUMBER <> 999 SUM = SUM + NUMBER vCOUNTER = COUNTER + 1 PRINT “PLEASE ENTER THE NEXT NUMBER” INPUT NUMBER LOOP AVERAGE = SUM/COUNTER PRINT “THE AVERAGE OF THE NUMBER IS”; AVERAGE END

4.โครงสร้างโปรแกรมภาษา Assembly

คำสั่งในภาษาแอสแซมบลี แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกกำหนดการทำงาน เรียกว่า OP-CODE (Operation Code) ส่วนที่สองเรียกว่า Operand มีหน้าที่กำหนดเกี่ยวกับข้อมูล OP-CODE อยู่ในไบท์แรกของคำสั่งภาษาแอสแซมบลีแทนด้วยตัวอักษร ส่วนภาษาเครื่องแทนด้วยเลขฐาน 2 สองบิทแรก ในไบท์นี้เป็นตัวกำหนดความยาวของคำสั่งนั้นด้วย เมื่อดูเฉพาะบิทที่ 0 และ 1 จะบอกความยาวของคำสั่งนั้น ๆ ได้ดังนี้ บิท 0 1 ความยาว ชนิด 0 0 0 1 1 0 1 11 HW 2 HW 2 HW 3 HWRR RX RS / SI / S / RX SS วิธีช่วยจำ - เอาเลขในบิทที่ 0 และ 1 รวมกันแล้วบวกอีก 1 จะเป็นความยาวของคำสั่งนั้น ๆ มีหน่วยเป็น HW ดังนี้ 0 + 0 + 1 = 1 HW 0 + 1 + 1 = 2 HW 1 + 0 + 1 = 2 HW 1 + 1 + 1 = 3 HW Operand เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับข้อมูล อาจจะเป็นข้อมูลเอง (Immediate Operand) หรือ อาจจะกำหนดตำแหน่งของข้อมูลด้วยหมายเลขรีจิสเตอร์ หรือกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำของระบบ จากลักษณะของ Operand นี้ แบ่งชนิดของคำสั่งได้เป็น 6 ประเภท คือ 1. RR (Register to Register) Operand ทั้งสองเป็นรีจิสเตอร์ 2. RX (Register to Index Storage) Operand ตัวแรกอยู่ในรีจิสเตอร์ ตัวที่สองอยู่ในหน่วยความจำของระบบ กำหนดตำแหน่งโดยใช้ Base register บวก Index Register บวกกับ displacement 3. SS (Storage to Storage) Operand ทั้งสองอยู่ในหน่วยความจำของระบบ กำหนดตำแหน่งโดยใช้ Base register บวกกับ displacement 4. SI (Storage and Immediate) Operand ตัวแรกอยู่ในหน่วยความจำของระบบ ตัวที่สอบเป็นข้อมูลโดยตรง (Immediate) ซึ่งยาว 1 ไบท์ และเก็บอยู่ภายในตัวคำสั่งนั้นเลย 5. RS (Register to Storage) Operand สองตัวแรกอยู่ในรีจิสเตอร์ ตัวหลังสุดอยู่ในหน่วยความจำของระบบ 6. S (Storage) Operand มีอยู่ตัวเดียวอยู่ในหน่วยความจำของระบบ การกำหนดตำแหน่งของข้อมูล การกำหนดตำแหน่งของข้อมูล เพื่อเรียกข้อมูลออกมาใช้นั้น ถ้าข้อมูลอยู่ในรีจิสเตอร์ กำหนดด้วยหมายเลของรีจิสเตอร์ รีจิสเตอร์ที่เก็บข้อมูลไว้ได้แก่ รีจิสเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป (หมายเลข 0 – 15 ) รีจิสเตอร์สำหรับควบคุม (หมายเลข 0 – 15) รีจิสเตอร์สำหรับเลขทศนิยม (หมายเลข 0, 2, 4 และ 6) โปรแกรม จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเลขไบนารี่ที่เรียกว่าภาษา Machine ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถ ติดต่อให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจได้ ภาษา Machine นี้จะจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นเลขฐานสิบหก (HEX) เช่น คำสั่ง 8 บิต 11101011B (B-ไบนารี่) เขียนได้เป็น 0EBH(H-ฐานสิบหก) แต่ก็เป็นการที่จะเข้าใจความหมาย ได้ยากในการใช้งาน การที่จะทำความเข้าใจภาษา Machine จะมีการใช้สัญลักษณ์ (Symbols) ที่เรียกว่า Mnemonics เพื่อแทนความหมายของคำสั่ง เช่น MOV A,#67H หมายความว่านำข้อมูลค่าคงที่ 67H ไปเก็บไว้ใน reg. A) โปรแกรมที่เขียนด้วยรหัส Mnemonics เรียกว่า ภาษา Assembly และก่อนที่จะให้ CPU ทำงานตามโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Assembly ได้ แต่ต้องเปลี่ยนให้เป็นภาษา Machine ก่อน โดยใช้ โปรแกรมแอสเซมเบลอร์ Flowchart โฟว์ชาร์ต โฟว์ชาร์ตใช้แสดงลักษณะและอัลกอริทึมของโปรแกรมในรูปแบบผังกราฟที่เหมาะสม เป็นการลำดับงานแบบเป็นขั้นตอน โฟว์ชาร์ต มีความสำคัญมากในการทำ Program-Debugging ซึ่งสามารถใช้ทำความเข้าใจอัลการิทึมที่แท้จริงของผู้เขียนโปรแกรม สำหรับผู้อื่นได้ดี และไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการเขียนโปรแกรม เช่น ถ้าข้อมูลอยู่ในหน่วยความจำของระบบ การกำหนดตำแหน่งของข้อมูลเพื่อเรียกข้อมูลออกมานั้นทำได้โดยใช้รีจิสเตอร์ สำหรับใช้งานทั่วไปเข้าช่วยเก็บค่าต่าง ๆ ที่จะคำนวณตำแหน่งที่แท้จริงของข้อมูลค่าต่าง ๆ ที่เก็บไว้ได้แก่ 1. Base Address เก็บไว้ใน 24 บิทของรีจิสเตอร์ กำหนดหมายเลขด้วย B Field (4 บิท) ในคำสั่ง เป็นตำแหน่งที่กำหนดจุดเริ่มต้นของโปรแกรม จะต้องกำหนดค่าให้ก่อนที่จะ Execute ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ว่างในหน่วยความจำขณะนั้น 2. Displacement เก็บไว้ใน 12 บิทของคำสั่ง หรือ D Field จะกำหนดตำแหน่งของคำสั่งอ้างอิงกับจุดเริ่มต้นของโปรแกรม กำหนดได้ถึง 4095 ไบท์ ( 2 กำลัง 12 - 1 ซึ่ง 12 ก็คือจำนวนบิทของเลขฐาน 2) จึงใช้ชี้ตำแหน่งได้ 4096 ไบท์ คือ displace จาก Base 0 – 4095 ไบท์ ตำแหน่งที่แท้จริง = ค่าใน Base Register + Displacement เหตุผลที่ต้องกำหนดตำแหน่งที่ในหน่วยความจำของระบบด้วย Base & Displacement ก็เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานในสภาพ Multiprogramming จะมีโปรแกรมหลายโปรแกรมอยู่ในหน่วยความจำพร้อม ๆ กัน โปรกแรกมที่จะนำเข้ามาในระบบจะต้องสามารถย้ายตำแหน่งไปมาได้ (Relocate) โปรแกรมที่เข้ามาจะกำหนดตำแหน่งใหม่ได้เสมอ และคำสั่งที่ใช้วิธีนี้ความยาวของคำสั่งจะสั้นกว่าการกำหนดตำแหน่งโดยตรง ตัวอย่าง
source code *********** BASIC CODE *************
loop: high portb.0 pause 100 low portb.0 pause 100 goto loop end
********* ASM CODE *************
 LIST P = 16F84 ERRORLEVEL -302 #INCLUDE P16F84.INC R1 EQU 0X0C R2 EQU 0X0D ORG 0X00 BSF STATUS,RP0 CLRF TRISB BCF STATUS,RP0 CLRF PORTB LOOP BSF PORTB,0 CALL DELAY BCF PORTB,0 CALL DELAY GOTO LOOP DELAY MOVLW 0XFF MOVWF R1 MOVWF R2 DEC1 DECFSZ R1 GOTO DEC1 DEC2 DECFSZ R2 GOTO DEC1 RETURN __CONFIG _XT_OSC & _PWRTE_OFF & _WDT_OFF & _CP_OFF ;Crystal Oscillator,Power-up Timer OFF ;Watch Dog Timer OFF,Code Protect OFF __IDLOCS 2000 END

5. โครงสร้างโปรแกรมภาษาจาวา 


public class ชื่อคลาส
{
      public static void main(String[] agrs)
     {
          ประโยคคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม;
          ..................................................;

     }
}


ตัวอย่างโปรแกรมภาษาจาวา
ไฟล์ Example.java
class Example
{
     public static void main(String[] args)
    {
          String dataname = “Java Language“;
          System.out.println(“My name is OAK“);
          System.out.println(“OAK is a “ + dataname +“. “);
     }
}


หมายเหตุ 
Compile : javac Example.java จะได้ไฟล์ Example.class

Run         : java Example

Output    : My name is OAK
                  OAK is a Java Language






6.โครงสร้างโปรแกรมภาษา cobol

DENTIFICATION DIVISION
  • ชื่อโปรแกรม
  • ชื่อผู้เขียนโปรแกรม
  • วันที่เขียนโปรแกรม
ENVIRONMENT DIVISION
  • รายละเอียดของตัวเครื่อง(CONFIGURATION SECTION)
  • รายละเอียดสิ่งที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล(INPUT/OUTPUT SECTION)
DATA DIVISION
  • รายละเอียดของแฟ้มข้อมูล(FILE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลอื่น ๆ(WORKING-STORAGE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลที่รับมาจากโปรแกรมอื่น ๆ(LINKAGE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลที่ให้แสดงบนจอภาพ
PROCEDURE DIVISION
  • PARAGRAPH 1
  • PARAGRAPH 2
  • PARAGRAPH 3-------[STATEMENT I;I' = 1(N)1
ไดอะแกรมแสดง โครงสร้างโปรแกรมภาษาโคบอล จากไดอะแกรม ที่แสดงโครงสร้างของโปรแกรมภาษาโคบอล
จะเห็นว่า ได้แบ่งตัวโปรแกรมออกเป็น 4 ส่วน ในแต่ละส่วนเราเรียกว่า Division
ในแต่ละ Division มีชื่อดังต่อไปนี้
  • IDENTIFICATION DIVISION.
  • ENVIRONMENT DIVISION.
  • DATA DIVISION.
  • PROCEDURE DIVISION.
IDENTIFICATION DIVISION 
เป็น Division หรือส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดของตัวโปรแกรม
 ชื่อของผู้เขียนโปรแกรม วันที่เริ่มเขียนโปรแกรม 
วันที่แปลโปรแกรม(Compiler) และที่สำคัญบอกว่าโปรแกรมนี้ชื่ออะไร
ENVIRONMENT DIVISION 
เป็น Division หรือส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดของตัวโปรแกรม
เกี่ยวกับตัวเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม หรือสั่งให้โปรแกรมทำงาน 
 และบอกให้ทราบชนิดของ Input/Output Devision ที่จะนำมาใช้กับโปรแกรมนี้
DATA DIVISION 
เป็น Division หรือส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดลักษณะของข้อมูลทุก ๆ ตัวที่นำมาเกี่ยวข้องกันกับโปรแกรมนี้ทั้งหม
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็ฯInput หรือ Output หรือผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผล
 หรือผลลัพธ์จากการทำงานของโปรแกรมนี้ โดยจะแสดงโครงสร้างของข้อมูลอย่างละเอียด
PROCEDURE DIVISION 
เป็น Division หรือส่วนที่ใช้ลำดับขั้นตอนของการทำงาน หรือของการประมวลผลข้อมูลโดย
โปรแกรมชุดนี้และใน Division นี้เราจะเขียนขึ้นตามผังโปรแกรมที่เราได้เขียนขึ้นในขั้นตอนแรกก่อนลงมือ 
 เขียนโปรแกรมนี้ ภายใน Division นี้จะแตกต่างไปจาก 3 Division แรกที่ได้กล่าวมา
 โดยจะมีการคำนาณ หรือมีคำสั่งต่าง ๆ ที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน 
 เพื่อให้ได้ผลลัทธ์ออกมาตามที่เราต้องการ นอกจากภาษาโคบอลได้ ถูกจัดแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ
 (Division) แล้ว ภายในแต่ละ Division ยังถูกแบ่งออกเป็น Section ย่อย ๆ ได้อีก เช่น 
 ภายใน Environment Divisionจะต้องมีอย่างน้อย 2 Section 
คือ Configuration Section และ Input-Output Section 
และภายใน Data Division จะมี File Section และ Working-Storage Section
 ส่วนภายในProcedure Division จะมี Section เท่าไหร่ก็ได้ 
 หรือภายในส่วนของ Identification Division ไม่มี Section อยู่เลย
นอกจากนี้ภายในแต่ ละ Section จะมี Paragraph แตกย่อยลงไปอีก 
ซึ่ง Paragraph เป็นส่วนประกอบภายใน Section ในทุก Section และภายใน Section 
จะต้องมีParagraph อย่างน้อย 1 Paragraph แต่ถ้าหากว่าภายใน Division ใดไม่ได้
แบ่งส่วนประกอบออกเป็น Section ให้ถือว่า Paragraph นั้นเป็นส่วนประกอบโดยตรงของภายในDivision นั้น
Sentence เป็นรูปของประโยคภายในของถาษาโคบอล
 ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับประโยคภายในภาษาอังกฤษ ซึ่งภายในประโยค
 หรือ Sentence นี้ต้องมีคำกริยา (verb) อย่างน้อย 1 คำ Sentence 
ภายในภาษาโคบอลนั้นจะต้องจบลงด้วย"."(Period)
Statement คือกลุ่มของตัวเลข กลุ่มของตัวอักษร และรวมถึงสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ 
 ซึ่งนำมาประกอบกันให้ได้ความหมายเป็นคำสั่งตามรูปแบบเงื่อนไขที่ภาษากำหนด
 ขึ้นให้ใช้(Reserved Words) โดยอาจจะมีการผสมอักระกันเป็น 1 Statement แล้วนำมาผูกกันเป็นกลุ่มของคำสั่ง 
 เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
Clause คือกลุ่มของ Characters (อักขระ) และ Words เพื่อใช้สำหรับอธิบายถึง Entry ภายในโปรแกรมนั้น ๆ
Word คือกลุ่มของ Characters ซึ่งจะต้องมีอย่างน้อย 1 ตัวอักขระขึ้นไป 
ซึ่งโครงสร้างของ Word ได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น
Character ตัวอักขระ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในโปรแกรมภาษาทางคอมพิวเตอร์
 ดูรายละเอียดภายในหัวข้อเรื่อง สัญลักษณ์ในภาษา COBOL